อาชญากรคอมพิวเตอร์
อาชญากรคอมพิวเตอร์ คือ ผู้กระทำผิดกฎหมายโดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เป็นส่วนสำคัญ มีการจำแนกไว้ดังนี้
1. พวกมือใหม่ (Novices) หรือมือสมัครเล่น อยากทดลองความรู้และส่วนใหญ่จะมิใช่ผู้ ที่เป็นอาชญากรโดยนิสัย มิได้ดำรงชีพโดยการกระทำผิด อาจหมายถึงพวกที่เพิ่งได้รับความไว้วางใจให้เข้าสู่ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
2. Darnged person คือ พวกจิตวิปริต ผิดปกติ มีลักษณะเป็นพวกชอบความรุนแรง และอันตราย มักเป็นพวกที่ชอบทำลายทุกสิ่งที่ขวางหน้าไม่ว่าจะเป็นบุคคล สิ่งของ หรือสภาพแวดล้อม
3. Organized Crime พวกนี้เป็นกลุ่มอาชญากรที่ร่วมมือกันทำผิดในลักษณะขององค์กรใหญ่ๆ ที่มีระบบ พวกเขาจะใช้คอมพิวเตอร์ที่ต่างกัน โดยส่วนหนึ่งอาจใช้เป็นเครื่องหาข่าวสาร เหมือนองค์กรธุรกิจทั่วไป อีกส่วนหนึ่งก็จะใช้เทคโนโลยีเพื่อเป็นตัวประกอบสำคัญในการก่ออาชญากรรม หรือใช้เทคโนโลยีกลบเกลื่อนร่องร่อย ให้รอดพ้นจากเจ้าหน้าที่
4. Career Criminal พวกอาชญากรมืออาชีพ เป็นกลุ่มอาชญากรคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่มาก กลุ่มนี้น่าเป็นห่วงมากที่สุด เนื่องจากนับวันจะทวีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ โดยจับผิดแล้วจับผิดเล่า บ่อยครั้ง
5. Com Artist คือพวกหัวพัฒนา เป็นพวกที่ชอบความก้าวหน้าทางคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ส่วนตน อาชญากรประเภทนี้จะใช้ความก้าวหน้า เกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์ และความรู้ของตนเพื่อหาเงินมิชอบทางกฎหมาย
6. Dreamer พวกบ้าลัทธิ เป็นพวกที่คอยทำผิดเนื่องจากมีความเชื่อถือสิ่งหนึ่งสิ่งใดอย่างรุ่นแรง
7. Cracker หมายถึง ผู้ที่มีความรู้และทักษะทางคอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี จนสามารถลักลอบเข้าสู่ระบบได้ โดยมีวัตถุประสงค์เข้าไปหาผลประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง มักเข้าไปทำลายหรือลบไฟล์ หรือทำให้คอมพิวเตอร์ใช้การไม่ได้ รวมถึงทำลายระบบปฏิบัติการ
8. นักเจาะข้อมูล (Hacker) ผู้ที่ชอบเจาะเข้าระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น พยายามหาความท้าทายทางเทคโนโลยีเข้าไปในเครือข่ายของผู้อื่นโดยที่ตนเองไม่มีอำนาจ
9. อาชญากรในรูปแบบเดิมที่ใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือ เช่นพวกลักเล็กขโมยน้อยที่ พยายามขโมยบัตร ATM ของผู้อื่น
10. อาชญากรมืออาชีพ คนพวกนี้จะดำรงชีพจากการกระทำความผิด เช่นพวกที่มักจะใช้ ความรู้ทางเทคโนโลยีฉ้อโกงสถาบันการเงิน หรือการจารกรรมข้อมูลไปขาย เป็นต้น
11. พวกหัวรุนแรงคลั่งอุดมการณ์หรือลัทธิ มักก่ออาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ เพื่อ อุดมการณ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ ศาสนา หรือสิทธิมนุษย์ชน เป็นต้น
และนอกจากนั้นยังพบว่า ผู้กระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์มีลักษณะพิเศษดังต่อไปนี้
1. ส่วนใหญ่มักมีอายุน้อย
2. ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีวิชาชีพ
3. ลักษณะส่วนตัวเช่น
- มีแรงจูงใจและความทะยานอยากสูงในการที่จะเอาชนะและฉลาด
- ไม่ใช่อาชญากรโดยอาชีพ
- กลัวที่จะถูกจับได้ กลัวครอบครัว เพื่อนและเพื่อนร่วมงานจะรู้ถึงการกระทำความผิดของตน
วิธีการป้องกันการเข้าถึงข้อมูลและคอมพิวเตอร์
1) การใช้ username หรือ user ID และ รหัสผ่าน (password) ผู้ใช้ควรเปลี่ยนแปลงด้วยตนเองในภายหลัง และควรหลีกเลี่ยงการกำหนดรหัสที่เป็นวันเกิด หรือรหัสอื่นๆ ที่ แฮกเกอร์สามารถเดาได้
2) การใช้วัตถุใด ๆ เพื่อการเข้าสู่ระบบ ได้แก่ บัตร หรือกุญแจ ซึ่งรหัสผ่านไม่ควรใช้ปีเกิด หรือจดลงในบัตร
3) การใช้อุปกรณ์ทางชีวภาพ (biometric device) เป็นการใช้อุปกรณ์ที่ตรวจสอบลักษณะส่วนบุคคลเพื่อการอนุญาตใช้โปรแกรม ระบบ หรือการเข้าใช้ห้องคอมพิวเตอร์
4) ระบบเรียกกลับ (callback system) เป็นระบบที่ผู้ใช้ระบุชื่อและรหัสผ่านเพื่อขอเข้าใช้ระบบปลายทาง หากข้อมูลถูกต้อง คอมพิวเตอร์ก็จะเรียกกลับให้เข้าใช้งานเอง อย่างไรก็ตามการใช้งานลักษณะนี้จะมีประสิทธิภาพมากขึ้นถ้าผู้ขอใช้ระบบใช้เครื่องคอมพิวเตอร์จากตำแหน่งเดิม คือ จากบ้าน หรือที่ทำงาน (หมายเลขโทรศัพท์เดิม)ในขณะที่การใช้คอมพิวเตอร์แบบพกพาอาจต้องเปลี่ยนหมายเลขโทรศัพท์ ทำให้เกิดความเสี่ยงมากกว่า
1. ข้อควรระวังก่อนเข้าไปในโลกไซเบอร์
Haag ได้เสนอกฎไว้ 2 ข้อคือ ถ้าคอมพิวเตอร์มีโอกาสถูกขโมย ให้ป้องกันโดยการล็อกมัน และถ้าไฟล์มีโอกาสที่จะถูกทำลาย ให้ป้องกันด้วยการสำรอง (backup)
2. ข้อควรระวังในการเข้าไปยังโลกไซเบอร์
ถ้าท่านซื้อสินค้าและบริการผ่านอินเทอร์เน็ต ให้พิจารณาข้อพึงระวังต่อไปนี้
1) บัตรเครดิตและการแอบอ้าง
2) การป้องกันข้อมูลส่วนบุคคล
3) การป้องกันการติดตามการท่องเว็บไซต์
4) การหลีกเลี่ยงสแปมเมล์
5) การป้องกันระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่าย
6) การป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์
ติดตามข่าวสารเกี่ยวกับการป้องกันการก่อกวนและทำลายข้อมูลได้ที่ ศูนย์ประสานงานการรักษาความปลอดภัยคอมพิวเตอร์ ประเทศไทย
นอกจากข้อควรระวังข้างต้นแล้ว ยังมีข้อแนะนำบางประการเพื่อการสร้างสังคมและรักษาสิ่งแวดล้อม ดังนี้
1) การป้องกันเด็กเข้าไปดูเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม
2) การวางแผนเพื่อจัดการกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ไม่ใช้แล้ว
3) การใช้พลังงาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น