Bios คืออะไร |
Bios (ไบออส) ย่อมาจาก Basic Input/Output System (ออกเสียงว่า "ไบ-ออส") คือซอฟต์แวร์ขนาดเล็กที่มีชุดคำสั่งที่จำเป็นสำหรับสำหรับบู๊ตระบบตอนเปิดเครื่อง และเป็นตัวควบคุมการทำงานในระดับต่ำสุด ที่ใกล้ชิดกับฮาร์ดแวร์มากที่สุก อีกทั้งรองรับ และตอบสนองการทำงานกับซอฟท์แวร์ในระดับที่สูงขึ้นไป เช่น ระบบปฏิบัติการ ดังนั้นระบบคอมพิวเตอร์จึงมีการแบ่งการทำงานเป็นระดับต่าง ๆ ได้แก่ Hardware (ฮาร์ดแวร์), Bios (ไบออส), (OS) โอเอส และ Application (แอพพลิเคชัน)
สำหรับโปรแกรม Bios นี้จะมีหลายบริษัทพัฒนาออกจำหน่าย ไม่ว่าจะเป็น Award, Phoenix และ AMI ซึ่งโดยทั่วไปจะมีประสิทธิภาพในการควบคุม และรองรับการทำงานเหมือน ๆ กันแต่จะต่างกันที่รายละเอียด เช่นความสามารถในการปรับแต่งระบบ หรือค่าต่าง ๆ ซึ่งจะมากน้อยต่างกัน
ซอฟต์แวร์ Bios จะถูกเก็บไว้ในชิปหน่วยความจำแบบรอม (ROM Chip) จึงมักเรียกกันว่า "รอมไบออส (ROM Bios)" ชนิดแฟลช (Flash Memory) ซึ่งเป็นหน่วยความจำประเภท "นอนโวลาไทล์ (Nonvolatile)" ที่เก็บข้อมูลได้ถาวร ไม่ต้องการไฟเลี้ยง สามารถเขียนข้อมูลใหม่ได้โดยใช้ไฟฟ้าทำให้ง่ายต่อการอัพเดท
ชิป ROM แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ PROM (Programable ROM), EPROM (Erasable PROM) และ EEPROM (Electrically Erasable PROM)
PROM เป็นหน่วยความจำแบบที่เก็บข้อมูลได้อย่างถาวร และสามารถเขียนข้อมูลได้เพียงครั้งเดียว กระบวนการเขียนทำด้วยกระแสไฟฟ้า และอาจจะทำโดยผู้ขาย หรือผู้ซื้อก็ได้ ต้องมีเครื่องมือพิเศษสำหรับการเขียน PROM
EPROM การอ่านหรือการเขียนด้วยกระแสไฟฟ้า เช่นเดียวกับ PROM อย่างไรก็ตาม ก่อนที่ทำการเขียน เซลล์ที่เก็บข้อมูลต้องถูกลบก่อนให้เหมือนกับตอนเริ่มต้น โดยการอาบรังสีอัลตร้าไวโอเลต ดังนั้น EPROM สามารถเปลี่ยนแปลงได้หลายครั้ง ข้อมูลสามารถเก็บได้อย่างไม่มีกำหนด EPROM แพงกว่า PROM แต่ว่ามันมีประโยชน์คือการเปลี่ยนแปลงข้อมูลทำได้หลายครั้ง
EEPROM สามารถเขียนได้ตลอดเวลา โดยไม่ต้องบบสิ่งที่มีอยู่ก่อน ข้อมูลไม่สูญหาย และมีความยืดหยุ่นในการเปลี่ยนแปลง EEPROM แพงกว่ามาก EPROM อัพเกรดโดยใช้การ "Flashing" บนชิปจึงถูกเรียกว่า Flash ROM โดยใช้โปรแกรมพิเศษทำการป้อนข้อมูลใหม่ที่ดาวโหลดได้จากผู้ผลิตแล้วบันทึกลงไปบนชิป
ในปัจจุบัน EEPROM ได้ถูกพัฒนาไปเป็น Flash ROM หรือ Flash Memory สามารถลบ และตั้งโปรแกรมใหม่ได้ด้วยการใช้ไฟฟ้า แต่แทนที่จะต้องลบข้อมูลเดิมทั้งหมดออกก่อน Flash ROM สามารถแก้ไขข้อมูลที่ตำแหน่งต่าง ๆ ได้โดยตรงทันที ทำให้รวดเร็วกว่าเดิมมาก ซึ่งนิยมนำมาใช้เก็บ Bios ในเครื่องรุ่นใหม่
หน้าที่ของ Bios
เมื่อเปิดเครื่องขึ้นมาครั้งแรก คอมพิวเตอร์จะยังไม่สามารถทำอะไรได้ จนกว่ามันจะได้รับคำสั่ง ณ ขณะนี้ไมโครโพรเซสเซอร์ก็ยังไม่รู้เลยว่า ตัวเองต้องทำอะไร เพราะไม่มีอะไรให้ประมวลผล ซึ่งในช่วงดังกล่าวนี้ระบบปฏิบัติการเองก็ยังไม่ทำงาน มันยังถูกเก็บอยู่ในฮาร์ดดิสก์ จึงเป็นเหตุให้ต้องมี Bios มาเป็นตัวเริ่มต้นการทำงาน เพื่อให้ระบบสามารถดำเนินการได้ โดยในช่วงของการทำงานตอนเริ่มสตาร์ทเครื่อง Biosมีหน้าที่สำคัญหลัก ๆ ดังนี้
- Power-on Self-Test (POST) จะเป็นการตรวจสอบส่วนประกอบที่เป็นฮาร์ดแวร์ทั้งหมดในระบบ เพื่อให้แน่ใจว่าทุกส่วนพร้อมใช้งานได้
- เข้าไปกระตุ้นชิป Bios ตัวอื่น ๆ ซึ่งมักจะเป็นของการ์ดที่ติดตั้งอยู่ภายในเครื่อง เช่น กราฟิกการ์ด, สกัซซี่การ์ด (SCSI) ซึ่งการ์ดเหล่านี้มักจะมี Bios อยู่ด้วย
- จัดการชุดของงานรูทีนระดับล่าง Bios จะทำตัวเป็นล่ามแปลภาษาระหว่าฮาร์ดแวร์กับซอฟต์แวร์ จะช่วยให้ระบบปฏิบัติการสามารถติดต่อสื่อสารกับอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ต่าง ๆ ได้ดี
- Bios เป็นซอฟต์แวร์ที่มีอินเทอร์เฟสแสดงรายการสำหรับการตั้งค่าของส่วนต่าง ๆ และสามรถนำข้อมูลไปบันทึกไว้ใน CMOS (ซีมอส) ได้ เช่น วันที่ และเวลา, การตั้งค่าฮาร์ดดิสก์, คล็อค (Clock), ไดรว์ซีดีรอม ฯลฯ
ที่มา : http://www.com5dow.com/%E0%B9%84%E0%B8%82%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%8D
%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%B1%E0%B8%9E%E0%B8 %97%E0%B9%8C-IT/264-Bios-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3.html |