วันอังคารที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

บรรทัดฐานทางสังคม


    บรรทัดฐานทางสังคม คือ แบบแผน กฎเกณฑ์ข้อบังคับ หรือ มาตรฐาน ในการปฏิบัติของคนในสังคมซึ่งสังคมยอมรับว่าสมควรจะปฏิบัติ เช่น บิดา มารดา ต้องเลี้ยงดูบูตร บุตรต้องมีความกตัญญูต่อบิดา มารดา ข้าราชการต้องบริการประชาชน พระสงฆ์ต้องรักษาศีลและเป็นที่พึ่ง ทางใจ ของประชาชน ฯลฯ
               ประเภทของบรรทัดฐานทางสังคม 

                บรรทัดฐานทางสังคมแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ  

               1. วิถีประชา  เป็นแบบแผนในการปฏิบัติหน้าที่ที่ทุก คนในสังคมปฏิบัติกันโดยทั่วไปจนเกิดเป็น ความเคยชิน ไม่ต้องมีศีลธรรมและกฎหมายบังคับ ผู้ไม่ปฏิบัติตาม ก็ไม่ได้ รับโทษ เพียงแค่ถูกนินทา เช่น ในการรับประทานอาหาร ควรใช้ช้อนกลาง ตักอาหาร หากไม่ใช้ช้อนกลางก็ไม่มีความผิด เป็นแค่ถูกตำหนิว่า ไม่มี มารยาทในการรับประทาน วิถีประชาแต่ละสังคม มีความแตกต่างกันไป แต่ละสังคม จึงทำให้มีวัฒนธรรมแตกต่างกันไป
               2. จารีต  มีความหมายเหมือนคำว่า “ศีลธรรม” จารีตเป็นบรรทัดฐานที่ทุกคนในสังคม จะต้องกระทำเป็นกระบวนการ พฤติกรรมที่จำเป็นต่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย และสวัสดิภาพของสังคม จารีตมีความสำคัญกว่าวิถีประชา เป็นเรื่องของความรู้สึกว่า สิ่งใดผิด สิ่งใดถูก ผู้ใดฝ่าฝืนจะถูกสังคมลงโทษ หรือได้รับการตำหนิอย่างรุนแรง ในสังคมไทยมีจารีตบางอย่างที่สำคัญมาก แม้มิได้นำไปบัญญัติเป็นกฎหมาย เช่น ความกตัญญู ระบบอาวุโส ความซื่อสัตย์ระหว่างสามี ภรรยา การแสดงความเคารพผู้ใหญ่ ฯลฯ
              3. กฎหมาย  หมายถึง บรรทัดฐานที่กำหนดไว้ในระเบียบแบบแผน ซึ่งผู้มีอำนาจทางการปกครองบ้านเมืองได้กำหนดขึ้น เพื่อบังคับให้บุคคลปฏิบัติตามหรือห้ามมิให้กระทำ หากฝ่าฝืนจะถูกลงโทษตามบทบัญญัติ

                 ความสำคัญของกฎหมาย
 บรรทัดฐานทางสังคม มีทั้งวิถีประชา และจารีตแล้ว แต่ต้องมีกฎหมายเพื่อบังคับใช้ด้วย เพราะกฎหมายมีความสำคัญดังนี้
                 1. สังคมประกอบด้วยกลุ่มคนที่แตกต่างกัน มีความขัดแย้งกันระหว่างกลุ่มอยู่เสมอ กฎหมายจึงมีความสำคัญ ในการ ขจัด ความขัดแย้งที่เกิดขึ้น หากไม่มีกฎหมาย กลุ่มก็จะต้องขจัด ความ ขัดแย้งกันเอง ตัดสินกันเองเป็นส่วนตัว ซึ่งจะไม่มีความยุติธรรมต่อคู่ ขัดแย้ง
                 2. วิถีประชา และจารีต มีลักษณะถาวรยาวนาน เปลี่ยนแปลงยาก ไม่ทันการเปลี่ยนแปลงของสังคม แต่กฎหมายจะเปลี่ยนแปลง ให้เข้ากับ สถานการณ์ที่เกิดขึ้นใหม่ ๆ ได้เร็วกว่า
                 3. กฎหมายมีอำนาจบังคับ มีบทบัญญัติลงโทษ มีเจ้าหน้าที่ จัดการ กับผู้ทำผิดกฎหมาย วิถีประชาและจารีตไม่มีอำนาจบังคับ สถานภาพ คือตำแหน่งที่ได้รับจากการเป็นสมาชิกของสังคม

เอกสารอ้างอิง
http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1
                     

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น